ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด

ในปัจจุบันกล้องวงจรปิดกำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสามารถในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง อีกทั้งยังจัดเก็บเป็นรูปแบบไฟล์ข้อมูลได้ ซึ่งทำให้คุณสามารถนำไฟล์ของกล้องวงจรปิด นำกลับมาย้อนดู เพื่อสังเกตเหตุการณ์ต่างๆได้ และสามารถรักษาความปลอดภัยในทุกๆวันได้เช่นกัน ดังนั้นเราจะพาคุณไปทำความรู้จักกล้องวงจรปิดให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ความเป็นมาของกล้องวงจรปิด, การติดตั้งกล้องวงจรปิด และอธิบายเกี่ยวกับแผงวงจรอีกด้วย ดังนั้นไปดูพร้อมๆกันเลย

เนื้อหาในบทความประกอบด้วย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด

ความเป็นมาของกล้องวงจรปิด

กล้องวงจร หรือ CCTV ได้มีการคิดค้น ริเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1970 โดยเป็นการนำกล้องวงจรเข้าไปรักษาความปลอดภัยใน ธนาคาร ซึ่งใช้ในการสังเกตการณ์ผู้ที่เข้ามายังธนาคาร ว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัยหรือไม่ ซึ่งในยุคนั้นกล้องวงจรปิดไม่ได้รับความนิยม เพราะเสมือนเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ภาพมีสีขาว-ดำ ไม่คมชัด และมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้กล้องวงจรปิดไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

แต่กระทั่งในยุคปัจจุบันกล้องวงจรปิดได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีภาพคมชัด สามารถมองเห็นได้ในที่มืด และจับภาพเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ได้ไว อย่างเช่น รถยนต์ฝ่าฝืนจราจรขับผ่าไฟแดง เป็นต้น นอกจากนี้กล้องวงจรปิด มีระบบทันสมัย คือการควบคุมการใช้งานระยะไกล และเข้าดูเหตุการณ์ย้อนหลังผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย

ขั้นตอนการติดตั้งกล้องวงจรปิดควรทำอย่างไร?

การติดตั้งกล้องวงจรปิด

ในส่วนของขั้นตอนการติดตั้งกล้องวงจรปิดมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การติดตั้งด้วยตนเอง ไม่ใช้ช่าง และการจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาติดตั้งกล้องวงจรปิด ซึ่งเราจะมาบอกข้อแตกต่าง และขั้นตอนติดตั้งทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อทำให้คุณมีองค์ประกอบการตัดสินใจเลือกขั้นตอนติดตั้งกล้องวงจรปิดได้ตามที่ต้องการอีกด้วย

1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

  • ติดตั้งด้วยตนเอง

หากคุณซื้อกล้องวงจรปิด และนำมาติดตั้งด้วยตนเองนั้น ส่งผลดีในเรื่องค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถประหยัดค่าแรงงานในการจ้างช่างเข้ามาติดตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ค่าจ้างช่างเข้ามานั้นมักจะมีราคาค่าแรงอยู่ที่ 1,000 บาท เท่ากับว่า กล้องวงจรปิด 1 ตัว ต้องเสียค่าใช้จ่าย 1,000 บาท เลยทีเดียว

  • จ้างช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาติดตั้ง

แน่นอนว่าเมื่อจ้างช่างให้เข้ามาติดตั้งกล้องวงจรปิด สิ่งที่คุณจะได้รับ คือ ความเรียบร้อย และเป็นระเบียบ ซึ่งทำให้กล้องวงจรปิดอยู่ในจุดที่ต้องการ จัดเก็บสายได้สวยงาม แต่ทว่าต้องเสียค่าแรงค่อนข้างสูง ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายพอสมควร

2. ความพร้อมในการใช้งาน

  • หลังจากติดตั้งด้วยตนเอง

เมื่อคุณทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยตนเองเสร็จสิ้นแล้วนั้น หากต้องการใช้งานครั้งแรก จะทำได้ยุ่งยาก เพราะต้องเข้าระบบ Application ของยี่ห้อกล้องวงจรปิดนั้นๆ ซึ่งจะมีรหัสเฉพาะ ทำให้คุณต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง และอาจเกิดข้อผิดพลาดได้

  • หลังจากช่างติดตั้ง

เมื่อช่างทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดเสร็จสิ้นแล้ว ช่างจะคอยแนะนำให้คุณทำตามช่าง เช่น ติดตั้ง Application กล้องวงจรปิด และแนะนำรหัสของกล้องวงจรปิด เพื่อเข้าใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการหาข้อมูล และได้รับความพร้อมในการทำงานได้ทันท่วงทีอีกด้วย

3. หากกล้องวงจรปิดมีปัญหา

  • แก้ปัญหาด้วยตนเอง

แน่นอนว่าเมื่อกล้องวงจรปิดมีปัญหา สิ่งที่คุณทำได้เป็นอย่างแรก คือ ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และนำข้อมูลมาประยุกต์ เพื่อซ่อมแซม และแก้ไขกล้องวงจรปิดให้กลับมาใช้ได้ดั่งเดิม อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างเข้ามาช่วยดูแลปัญหาได้อีกด้วย

  • ติดต่อช่างเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หากคุณเลือกที่จะติดต่อช่างเข้ามาช่วยแก้ปัญหานั้น จะได้รับการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว ตรงจุดมากที่สุด เพราะช่างที่เชี่ยวชาญสามารถชี้จุด หรือแนะนำ จุดที่มีปัญหาได้อย่างชัดเจนนั่นเอง

อธิบายแผงวงจรกล้องวงจรปิดมีอะไรบ้าง?

แผงวงจรกล้องวงจรปิด

คุณเคยสงสัยไหมว่า แผงวงจร หรือบอร์ดของกล้องวงจรปิดมีหลักการทำงานอย่างไร วันนี้เราจะมาอธิบายแผงวงจรให้คุณได้ทราบกันถ้วนหน้า เพื่อเพิ่มความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดได้ ดังต่อไปนี้

  • แผงวงจรกล้องวงจรปิดแบบ NVR

แผงวงจรหรือบอร์ดควบคุมกล้องวงจรปิดแบบ NVR จะมีฟังก์ชันและระบบที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก โดยมีฟังก์ชันดังนี้

  1. รองรับเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดภาพได้ไฟล์ข้อมูลแบบ H.265+,H.265,H.264+,H.264 ซึ่งจัดเป็นไฟล์ขนาดใหญ่ ที่มีความคมชัดสูง
  2. ระบบตรวจจับพฤติกรรม โดยมีอยู่จำนวน 2-4 ช่องสัญญาณ ทำให้คุณสามารถสังเกตการณ์ และเฝ้าบุคคลที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยได้
  3. สามารถรองรับอุปกรณ์กล้องวงจรปิดพร้อมกันได้ จำนวน 8 ตัวขึ้นไป
  4. ระบบบันทึกภาพมีความคมชัดระดับ 12 ล้านพิกเซล ทำให้ดูภาพย้อนหลังได้คมชัด ไม่มีสะดุด
  5. รองรับการควบคุมการใช้งาน และดูความคืบหน้าได้ผ่านระบบออนไลน์ หรือ Application ได้
  • แผงวงจรกล้องวงจรปิดแบบ DVR

ส่วนแผงวงจรกล้องวงจรปิดแบบ DVR มีลักษณะใกล้เคียงกับ NVR เพียงต่างกันที่จำนวนในการรองรับระบบ และฟังก์ชันเสริมในการใช้งาน ซึ่งมีจุดเด่นและข้อแตกต่าง ดังนี้

  1. รองรับเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ H.265 Pro+,H.265 Pro,H.265,H.264+,H.264 ทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่ และเปิดใช้งานได้ภาพที่คมชัดสูง
  2. รองรับการบันทึกภาพ 5 ระบบ HDTVI,AHD,CVI และCVBS
  3. สามารถรองรับอุปกรณ์กล้องวงจรปิดพร้อมกันได้ไม่เกิน จำนวน 8 ตัว
  4. สามารถรับ-ส่งสัญญาณวิดีโอระดับ HD ได้ระยะไกลสุดถึง 1,200 เมตร และระดับ Full HD ได้ระยะไกลสุด 800 เมตร
  5. รองรับการควบคุมการใช้งาน และสามารถดูบันทึกย้อนหลังผ่านระบบออนไลน์ หรือ Application ได้อีกด้วย

หลักการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้มีประสิทธิภาพ

  1. ควรเลือกกล้องวงจรปิดที่มีความทนทาน และต้องทนได้ทุกสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ต้องควบคุมการใช้งานระยะไกล เพราะได้รับความสะดวก ใช้งานง่าย ดูเหตุการณ์ย้อนหลังได้ตลอดเวลา
  2. ควรวางแผนในจุดที่ต้องการติดตั้ง เช่น ภายในหรือภายนอกอาคาร เพื่อให้กล้องวงจรปิด ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  3. เลือกติดตั้งในจุดที่สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อให้คุณเข้าถึงทุกเหตุการณ์ได้ทัน
  4. กล้องวงจรปิดควรอยู่ในมุมสูง เพื่อป้องกันการมองเห็นจากบุคคลภายนอก หรือขยับมุมมองของกล้องได้
  5. ไม่ควรติดตั้งในจุดที่เห็นบริเวณอาคารของผู้อื่น เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทำให้ผิดกฎหมายได้

บทสรุปทิ้งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ให้คุณสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ในการใช้งานกล้องวงจรปิด และได้ทำความรู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้มีข้อมูล ข้อดี-ข้อเสีย เกี่ยวกับการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยตนเอง หรือจ้างช่างผู้เชียวชาญ อีกทั้งหลักการที่ใช้ในการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อให้กล้องของคุณสามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ครอบคลุมมากที่สุดนั่นเอง

หากต้องการจะเลือกซื้อกล้องวงจรปิดยี่ห้อต่างๆ เราได้เขียนรวบรวมรีวิวกล้องวงจรปิดมาฝากทุกคนกัน ไม่ว่าจะเป็น กล้องวงจรปิดยี่ห้อ Hikvision, VstarCam, Xiaomi เป็นต้น สำหรับใครต้องศึกษา ระบบการทำงานของกล้อง CCTV หรือ ประเภทของกล้องวงจรปิด สามารถเลือกอ่านต่อได้เลยค่ะ

Similar Posts